GaffneyAbernathy812

Aus DCPedia
Wechseln zu: Navigation, Suche

การเจาะดิน ส่วนมากบริษัทเจาะสำรวจดินจะใช้วิธี เจาะล้าง คือใช้หลอดเหล็กที่เป็นหัวสว่านหรือตัวกระแทกกวนดินและใช้น้ำเป็นตัวพาเอาเนื้อดินขึ้นมาจากหลุมเจาะ กระบวนการเจาะสำรวจดินจะเริ่มต้นด้วยการตีท่อเหล็กป้องกันดินพัง (Casing) ขนาดโดยประมาณ 4 นิ้ว มีความยาวประมาณ 3 เมตร ถึง 6 เมตร นำหัวเจาะที่เป็นตัวกวนดินซึ่งต่ออยู่กับหลอดเหล็ก (Rod) ใส่ลงไปกวนดิน ท่อส่งเป็นท่อกลวงกลาง ขณะเจาะชั้นดินจะฉีดน้ำให้ไหลในท่อส่งไปออกที่หัวเจาะอย่างต่อเนื่อง การเจาะดินจะกระทำอย่างไม่ขาดระยะจนได้ความลึกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และจะเก็บตัวอย่างดินทุกๆช่วงความลึก 1.0 - 1.5 ม. การเก็บดินตัวอย่างจะดึงหลอดเจาะ (Rod) ขึ้นมาสับเปลี่ยนหัวเจาะเป็นกระบอกเก็บตัวอย่าง ตัวอย่างดินในหลุมเจาะที่ใช้กันอยู่มี2 ประเภทคือ กระบอกแบบบาง (Thin-wall tube) และกระบอกเก็บตัวอย่างแบบผ่า (Split spoon tube)


เมื่อได้ตัวอย่างดินในหลุมเจาะแล้วจะนำเข้าห้องแล็ปเพื่อหาคุณสมบัติต่างๆ ของตัวอย่างดินในหลุมเจาะ เช่น ความชุ่มชื้นของดิน (Natural water content), ขีดจำกัดเหลว (Liquid Limit), ขีดจำกัดพลาสติก (Plastic Limit), หน่วยน้ำหนัก (Unit Weight) จำแนกประเภทของตัวอย่างดิน และหาค่าความสามารถในการรับน้ำหนักของตัวอย่างดิน เป็นต้น


เมื่อเจาะสำรวจดินและทดสอบตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการเรียบร้อยแล้ว ผู้ รับเจาะดิน จะสรุปเป็นบันทึกผลการเจาะสำรวจดิน ซึ่งโดยรวมหนังสือผลการเจาะสำรวจชั้นดินจะมี รายการบอกผลการทดสอบดินในห้องแล็ป (Summary of Test Result) ภาพตัดแสดงชั้นดิน และคุณลักษณะต่างๆเปรียบกับระยะความลึก (Boring Log) ตารางแสดงกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มแต่ละชนิด เป็นต้น